วัคซีน ของ วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

จนถึงวันที่ 21 ธันวาคม ประเทศ 17 ประเทศ[upper-alpha 2]และสหภาพยุโรป[101]ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทคคือ tozinameran เป็นการฉุกเฉินบาห์เรนยังอนุมัติให้วางตลาดขายฉุกเฉินสำหรับวัคซีน BBIBP-CorV ของบริษัทไซโนฟาร์ม[85]โดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่อมาก็ได้ทำเช่นกัน[86]ในสหราชอาณาจักรจนถึงวันที่ 16 ธันวาคม คน 138,000 คนได้รับ tozinameran ในอาทิตย์แรกของโปรแกรมการฉีดวัคซีนของประเทศ[102]ในวันที่ 11 ธันวาคม 2020 องค์การอาหารและยาสหรัฐได้อนุญาตให้ใช้ tozinameran เป็นการฉุกเฉิน[103]อีกอาทิตย์ต่อมา ก็ให้อนุญาตเช่นกันกับวัคซีน mRNA-1273 ของบริษัทมอเดิร์นา จึงเป็นประเทศแรกที่อนุญาตให้ใช้วัคซีน 2 อย่างเป็นการฉุกเฉิน[104][105][106]

เซพีจัดระยะการพัฒนาวัคซีนเป็นสามกลุ่ม คือ (1) ระยะการสำรวจ (exploratory) คือการวางแผนและออกแบบวัคซีนโดยไม่มีการประเมินในสิ่งมีชีวิต (2) พรีคลินิก (preclinical) คือการประเมินในสิ่งมีชีวิตและเตรียมตัวผลิตสารประกอบเพื่อจะทดสอบในมนุษย์ หรือ (3) ที่เริ่มทดสอบความปลอดภัยในมนุษย์อาสาสมัครที่สุขภาพดีระยะที่ 1 แล้ว[1]จนถึงกลางเดือนกันยายน มีวัคซีนแคนดิเดต 321 อย่างที่ได้ยืนยันแล้วว่ากำลังทดลองทางคลินิก หรือว่าเป็นโปรเจ็กต์สำรวจหรือพรีคลินิก[1]

การทดลองระยะที่ 1 โดยหลักทดสอบความปลอดภัยและขนาดยาเป็นเบื้องต้นโดยให้ยาแก่อาสาสมัครสุขภาพดีเป็นสิบ ๆ คน ระยะที่ 2 ซึ่งทำหลังประสบความสำเร็จในระยะที่ 1 จะตรวจปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกัน, ขนาดของยา (คือตรวจประสิทธิศักย์โดยใช้ค่าวัดของสารบ่งชี้ทางชีวภาพ คือ biomarker) และผลที่ไม่พึงประสงค์ ปกติทำกับคนเป็นร้อย ๆ คน[107][108]การทดลองระยะ 1-2 ทดสอบความปลอดภัยและการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในเบื้องต้นโดยจะกำหนดขนาดที่ได้ผลให้แม่นยำด้วย[108]ส่วนการทดลองระยะที่ 3 ปกติจะมีอาสาสมัครมากกว่า มีกลุ่มควบคุม และทดสอบประสิทธิผลป้องกันโรคของวัคซีน (เป็นการทดลองแบบแทรกแซง คือ interventional) และจะเฝ้าสังเกตผลที่ไม่พึงประสงค์เมื่อใช้ขนาดยาที่ดีสุด[107][108]นิยามของความปลอดภัยของวัคซีน ประสิทธิศักย์ จุดยุติทางคลินิก (clinical endpoint) ในการทดลองระยะที่ 3 อาจต่างกันระหว่างบริษัทต่าง ๆ เช่นการนิยามระดับผลข้างเคียง การติดเชื้อ หรือการแพร่เชื้อ และว่า วัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิดแบบรุนแรงหรือแบบปานกลาง[109][110][111]

วัคซีนที่ได้อนุมัติแล้ว

วัคซีนที่อนุมัติเป็นการฉุกเฉินหรือให้ใช้ทั่วไป
วัคซีนแคนดิเดต
ผู้พัฒนา/ผู้ให้ทุน
เทคโนโลยี ระยะทดลองในปัจจุบัน (จำนวนอาสาสมัคร)
รูปแบบการทดลอง
ระยะทดลองที่เสร็จแล้ว[lower-alpha 1] (จำนวนอาสาสมัคร)
การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน/ผลไม่พึงประสงค์
อนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[lower-alpha 2] อนุมัติให้ใช้ทั่วไป
BBIBP-CorV[112]

ไซโนฟาร์มคือ Beijing Institute of Biological Products และ Wuhan Institute of Biological Products

ไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้ว (vero cells) ระยะ 3 (48,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำคู่ขนาน เพื่อตรวจความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ในการป้องกันโรค

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศผลบวกที่พบจากการวิเคราะห์ในระหว่างการทดลองเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2020 โดยมีประสิทธิศักย์ที่ร้อยละ 86[113][114]

ระยะ 1-2 (320)
เกิดสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์ในวันที่ 14 หลังจากฉีดยา 2 ครั้ง ผลไม่พึงประสงค์ - เจ็บที่จุดฉีด เป็นไข้ โดยมีอาการเบาและจำกัด ไม่มีผลร้ายแรง[115]
อนุมัติ
*จีน: NHC (ก.ค. 2020)[116]
อนุมัติ
CoronaVac[120][121][122]

ไซโนแว็ก

ไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้ว ระยะ 3 (33,620)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางสองฝ่าย มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก เพื่อตรวจประสิทธิศักย์และความปลอดภัย
ระยะ 2 (600)
ขนาดน้อยกระตุ้นการสร้างสารภูมิคุ้มกันที่ร้อยละ 92 ขนาดมากกระตุ้นร้อยละ 98 หลังจาก 14 วัน ผลไม่พึงประสงค์ - อาการเบา เจ็บที่จุดฉีด[123]
อนุมัติ
  • จีน: NHC (ก.ค. 2020)[124]
Gam-COVID-Vac
(สปุตนิก 5)

Gamaleya Research Institute of Epidemiology and Microbiology; ชื่อการค้า: Sputnik V

เว็กเตอร์เป็นไวรัสที่ไม่ขยายพันธุ์ ระยะ 3 (40,000)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางสองฝ่าย มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก เพื่อตรวจประสิทธิศักย์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน และความปลอดภัย[125]
ระยะ 1-2 (76)
การตอบสนองของสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์และ T Cell ผลไม่พึงประสงค์ - เจ็บที่จุดฉีด เป็นไข้ ปวดหัว อ่อนล้า และปวดข้อ/กล้ามเนื้อ[126]
อนุมัติ

mRNA-1273[130][131]

มอเดิร์นา, NIAID, BARDA, เซพี

การแพร่กระจายของอนุภาคนาโนที่เป็นลิพิดและมีเอ็มอาร์เอ็นเอที่แปลงนิวคลีโอไซด์[lower-alpha 3] ระยะ 3 (30,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่ใช้ยาหลอกเพื่อทดสอบประสิทธิศักย์ ความปลอดภัย และการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน

ผลบวกที่พบจากการวิเคราะห์ในระหว่างการทดลองได้ประกาศเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2020[132]

ระยะ 1-2 (720)[133][134]
เกิดสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์หลังจากให้วัคซีนสองครั้งโดยขึ้นอยู่กับขนาด ยังไม่ได้กำหนดว่ามีฤทธิ์ป้องกันนานเท่าไร ผลไม่พึงประสงค์ - เป็นไข้ ล้า ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ และเจ็บปวดที่จุดฉีด[135][136][137]
อนุมัติ
*สหรัฐ: FDA[104][105][106]
Tozinameran[lower-alpha 4][87][140][141]

ไบโอเอ็นเทค, ไฟเซอร์, Fosun Pharma

อาร์เอ็นเอที่แปลงนิวคลีโอไซด์[lower-alpha 3] ระยะ 3 (43,448)[142]
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก

ผลบวกที่พบจากการวิเคราะห์ในระหว่างการทดลองได้ประกาศเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2020[143] แล้วตีพิมพ์ในวันที่ 10 ธันวาคม 2020 โดยรายงานประสิทธิศักย์ทั่วไปถึงร้อยละ 95[144][145]

ระยะ 1-2 (45)
การตอบสนองของสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์ (neutralizing) และแบบ IgG ที่ยึดกับ RBD อย่างมีกำลัง ซึ่งเกิดสูงสุด 7 วันหลังให้วัคซีนซ้ำ โดย T cell แบบ CD4+ และ CD8+ ก็ตอบสนองอย่างเข้มแข็ง ยังไม่ได้ระบุว่าการป้องกันคงยืนนานเท่าไร

ผลไม่พึงประสงค์ - เกิดอาการภูมิแพ้ซึ่งอันตรายถึงชีวิตในบุคคลที่ไว[146] อาการอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับขนาดยาโดยเกิดในระดับพอสมควร (moderate) รวมทั้งเจ็บปวดที่ที่ฉีด ล้า ปวดหัว หนาวสะท้าน เจ็บปวดกล้ามเนื้อและข้อ เป็นไข้[147]

อนุมัติ
*UK: MHRA[84][148][149]
อนุมัติ

การทดลองทางคลินิกที่เริ่มในปี 2020

วัคซีนแคนดิเดตสำหรับโควิด-19 ที่กำลังทดลองในระยะ 1-3[2][3][4]
วัคซีนแคนดิเดต
ผู้พัฒนา/ผู้ให้ทุน
เทคโนโลยี ระยะทดลองในปัจจุบัน (จำนวนอาสาสมัคร)
รูปแบบการทดลอง
ระยะทดลองที่เสร็จแล้ว[lower-alpha 1] (จำนวนอาสาสมัคร)
การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน/ผลไม่พึงประสงค์
อนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[lower-alpha 2] อนุมัติให้ใช้ทั่วไป
AZD1222[lower-alpha 5][lower-alpha 6][167][168][169]

มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด, แอสตราเซเนกา, เซพี

อะดีโนไวรัสของชิมแปนซีที่แปลงเพื่อใช้เป็นเว็กเตอร์ (ChAdOx1) ระยะ 3 (30,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอกเพื่อตรวจประสิทธิศักย์ ความปลอดภัย และการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน[170]

ผลบวกที่พบจากการวิเคราะห์ในระหว่างการทดลองได้ประกาศเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2020[171][172] แล้วตีพิมพ์ในวันที่ 8 ธันวาคม 2020[173] ประสิทธิศักย์ทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 70 มีพิสัยระหว่างร้อยละ 62-90 ขึ้นอยู่กับขนาดการให้ โดยมีโพรไฟล์ความปลอดภัยที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน[173]

ระยะ 1-2 (543)
เกิดสารภูมิต้านทานต่อโปรตีน spike ของไวรัสโดยเฉพาะเมื่อถึงวันที่ 28 เกิดสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์หลังจากให้วัคซีนครั้งที่สองในวันที่ 56 ผลไม่พึงประสงค์ - อาสาสมัครเกินร้อยละ 60 เจ็บที่จุดฉีด ปวดหัว เป็นไข้ หนาวสะท้าน ปวดกล้ามเนื้อ และละเหี่ย ให้พาราเซตามอลแก่บางคนเพื่อเพิ่มความทนรับได้[174]
กำลังพิจารณา
กำลังพิจารณา
Ad5-nCOV

แคนไซโนไบโอลอจิกส์, Beijing Institute of Biotechnology of the Academy of Military Medical Sciences, NPO Petrovax (รัสเซีย)[179]

Recombinant adenovirus type 5 vector ระยะ 3 (40,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำหลายศูนย์ทั่วโลก เพื่อตรวจประสิทธิศักย์ ความปลอดภัย และการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
ระยะ 2 (508)
ก่อสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์และการตอบสนองของลิมโฟไซต์ชนิด T cell ผลไม่พึงประสงค์ - ร้อยละ 74 เป็นไข้ ปวด และล้า มีอาการพอสมควรภายใน 7 วัน[180]
กำลังพิจารณา
Ad26.COV2.S[182][183][184]

Janssen Pharmaceutica (ส่วนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน), BIDMC

เว็กเตอร์เป็นไวรัสที่ไม่แพร่พันธุ์[185] ระยะ 3 (40,000)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางสองฝ่าย มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก

หยุดการทดลองชั่วคราวเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2020 เพราะอาสาสมัครคนหนึ่งป่วยโดยอธิบายไม่ได้[186] ต่อมาวันที่ 23 ตุลาคม จอห์นสันแอนด์จอห์นสันประกาศว่ากำลังเตรียมตัวดำเนินการทดลองต่อในสหรัฐ[187][188]

ระยะ 1-2 (1,045)

ผลงานยังอยู่ในระยะก่อนตีพิมพ์ เกิดสารภูมิต้านทานแบบ S สำหรับอาสาสมัครเกินร้อยละ 95 ผลไม่พึงประสงค์ - เจ็บที่จุดฉีด ล้า ปวดหัว และปวดกล้ามเนื้อ

กำลังพิจารณา

NVX-CoV2373[191]

Novavax, เซพี

อนุภาคโปรตีน spike ลูกผสมของไวรัสโควิด-19 บวกกับตัวเสริม ระยะ 3 (15,000)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางผู้สังเกตการณ์ มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก[192]
ระยะ 1-2 (131)

การตอบสนองของสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์และ IgG เมื่อใช้ตัวเสริมและหลังจากฉีดยาเพิ่ม ผลไม่พึงประสงค์ - อาการเกิดในระยะสั้นและเบา คือเจ็บที่จุดฉีด ปวดหัว ล้า และปวดกล้ามเนื้อ[193]

กำลังพิจารณา

BBV152 (Covaxin)

Bharat Biotech, Indian Council of Medical Research

ไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้ว ระยะ 3 (25,800)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางผู้สังเกตการณ์ มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก[195]
กำลังพิจารณา

CoVLP[197]

Medicago, แกล็กโซสมิธไคลน์

อนุภาคคล้ายไวรัสที่ได้จากพืช ใช้ดีเอ็นเอลูกผสม[lower-alpha 7] และใช้ตัวเสริมจากแกล็กโซสมิธไคลน์ ระยะ 2-3 (30,612)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางผู้สังเกตการณ์ มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก และ event-driven[199]
ระยะ 1 (180)
เกิดสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์ในวันที่ 42 หลังการฉีดยาครั้งที่ 1 (วันที่ 21 หลังฉีดยาครั้งที่ 2) ในระดับเป็น 10 เท่าของผู้รอดชีวิตจากการติดโรคโควิด[200][201]
ไม่ได้ตั้งชื่อ[2][3][4][202]

Anhui Zhifei Longcom Biopharmaceutical Co. Ltd.

หน่วยย่อยของโปรตีนจากดีเอ็นเอลูกผสม ระยะ 2 (900)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางทั้งสองฝ่าย มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก[203]
ระยะ 1 (50)
Zorecimeran (CVnCoV)[204]

CureVac, เซพี

เอ็มอาร์เอ็นเอที่แปลงนิวคลีโอไซด์[lower-alpha 3] ระยะ 3 (36,500)[205]
ระยะ 2b/3 ทดสอบประสิทธิศักย์และความปลอดภัย ทำในศูนย์หลายศูนย์
ระยะ 1-2 (944)[204][206]
ระยะ 1 (284): การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม อำพรางผู้สังเกตการณ์บางส่วน โดยเพิ่มขนาดยา (dose-escalation) เพื่อทดสอบการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและผลที่ไม่พึงประสงค์

ระยะ 2a (660): การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม อำพรางผู้สังเกตการณ์บางส่วน ทำที่ศูนย์หลายศูนย์ เพื่อยืนยันขนาดยา

INO-4800[lower-alpha 8][207][208]

Inovio Pharmaceuticals, เซพี, สถาบันสุขภาพแห่งชาติเกาหลี, International Vaccine Institute

พลาสมิดของดีเอ็นเอส่งด้วยวิธี electroporation[lower-alpha 9] ระยะ 1-2 (40) ยังคอยรายงานการทดลองระยะ 1
EpiVacCorona[211]

Vector

วัคซีนเพปไทด์ที่เลียนแอนติเจนของไวรัส[211] ระยะ 1-2 (100)
งานศึกษาแบบสุ่ม อำพราง มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก แบบธรรมดา (simple) เพื่อตรวจความปลอดภัย การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน และผลที่ไม่พึงประสงค์[211]
ยังรอรายงานการทดลองระยะ 1-2
ยังไม่ได้ตั้งชื่อ[212]

Chinese Academy of Medical Sciences

ไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้ว ระยะ 1-2 (942)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางทั้งสองฝ่าย มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก ทำที่ศูนย์เดียว
AG0301-COVID19[213]

AnGes Inc.[214],Japan Agency for Medical Research and Development

พลาสมิดของดีเอ็นเอ[lower-alpha 10] ระยะ 1-2 (30)
การทดลองไม่สุ่ม ที่ศูนย์เดียว ให้ยาสองครั้ง
Lunar-COV19/ARCT-021[215][216]

Arcturus Therapeutics

เอ็มอาร์เอ็นเอ ระยะ 1-2 (92)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางทั้งสองฝ่าย
COVID-19/aAPC[217]

Shenzhen Genoimmune Medical Institute[218]

Lentiviral vector with minigene modifying aAPCs ระยะ 1 (100)
LV-SMENP-DC[219]

Shenzhen Genoimmune Medical Institute[218]

Lentiviral vector with minigene modifying DCs ระยะ 1 (100)
LNP-nCoVsaRNA[220]

หน่วย Medical Research Council Clinical Trials Unit ที่อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน

เอ็มอาร์เอ็นเอ ระยะ 1 (105)
การทดลองระยะที่ 1 แบบสุ่มโดยทดลองเพิ่มขนาดยา (15) และขยายตรวจสอบความปลอดภัย (อย่างน้อย 200)
ZyCoV-D[221]

Cadila Healthcare

พลาสมิดของดีเอ็นเอที่แสดงออกโปรตีน S ของไวรัสโควิด-19 ระยะ 1-2 (1,000)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางทั้งสองฝ่าย มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก[222][223]
GX-19[224][225]

Genexine consortium[226], International Vaccine Institute

ดีเอ็นเอ ระยะ 1 (40)
SCB-2019[227][228]

Clover Biopharmaceuticals[229], แกล็กโซสมิธไคลน์, เซพี

spike protein trimeric subunit with GSK adjuvant ระยะ 1 (150)
COVAX-19[230]

Vaxine Pty Ltd[231]

โปรตีนจากยีนลูกผสม [lower-alpha 11] ระยะ 1 (40)
ไม่ได้ตั้งชื่อ[232]

PLA Academy of Military Science, Walvax Biotech[233]

เอ็มอาร์เอ็นเอ ระยะ 1 (168)
SARS-CoV-2 Sclamp/V451[234][235]

มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์, Syneos Health, เซพี, Seqirus (ส่วนของ CSL Limited)

โปรตีน spike ทำให้เสถียรด้วย molecular clamp บวกกับตัวเสริม MF59 ระยะ 1 (120)
การทดลองแบบสุ่มและใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย ตรวจหาขนาดยา
N/A N/A
การทดสอบและพัฒนาได้ยุติลงในเดือนธันวาคม 2020 เพราะได้ผลบวกลวงเมื่อตรวจไวรัสเอชไอวีในอาสาสมัคร
  1. 1 2 ระยะล่าสุดที่ได้ตีพิมพ์ผล
  2. 1 2 emergency use authorization (EUA)
  3. 1 2 3 Nucleoside-modified messenger RNA, ตัวย่อ modRNA
  4. ใช้ชื่อว่า BNT162b2 เมื่อยังไม่ได้อนุมัติ
  5. สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (Serum Institute of India) จะเป็นผู้ผลิตวัคซีน ChAdOx1 nCoV-19 ให้แก่อินเดีย[164]ประเทศรายได้ต่ำและปานกลางอื่น ๆ[165]
  6. ชื่อใช้ที่มหาวิทยาลัยคือ ChAdOx1 nCoV-19 สถาบัน Oswaldo Cruz Foundation จะเป็นผู้ผลิตในบราซิล[166]
  7. อนุภาคคล้ายไวรัส (virus-like particles) ที่ก่อในพืชประจำถิ่นออสเตรเลีย Nicotiana benthamiana ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันกับยาสูบ[198]
  8. ระยะ 1-2 ในเกาหลีใต้ทำพร้อมกับระยะ 1 ในสหรัฐ
  9. electroporation หรือ electropermeabilization หรือ electrotransfer เป็นเทคนิคทางจุลชีววิทยาที่ประกบสนามไฟฟ้ากับเซลล์เพื่อเพิ่มสภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์ จึงทำให้สารเคมี ยา หรือดีเอ็นเอเข้าไปในเซลล์ได้[209][210]
  10. DNA plasmid
  11. Recombinant protein

งานวิจัยพรีคลินิก

ในเดือนเมษายน องค์การอนามัยโลกแถลงการณ์โดยเป็นตัวแทนของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มต่าง ๆ ทั่วโลกว่าจะร่วมมือกันเพื่อเร่งพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด[236]โดยชักชวนองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งองค์กรที่กำลังพัฒนาวัคซีนแคนดิเดต องค์กรควบคุมและตั้งนโยบายของรัฐ ผู้ให้เงินทุน องร์กรสาธารณสุข และรัฐบาล ให้ร่วมมือกันเพื่อให้สามารถผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิผลได้โดยมีปริมาณเพียงพอในการแจกจำหน่ายให้แก่เขตต่าง ๆ ทั้งหมดของโลกโดยเฉพาะเขตที่ยากจน[24]

เมื่อวิเคราะห์ประวัติของอุตสาหกรรมพัฒนาวัคซีนก็พบว่า การพัฒนาจะล้มเหลวในอัตราร้อยละ 84-90[24][80]อนึ่ง เพราะโควิดเป็นไวรัสใหม่ มีลักษณะต่าง ๆ ที่ยังไม่ชัดเจนทั้งหมด และต้องใช้กลยุทธ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาวัคซีน ทุก ๆ ขั้นตอนจึงเสี่ยงไม่สำเร็จสูงมาก[24]

เพื่อประเมินประสิทธิผลที่วัคซีนหนึ่ง ๆ อาจมี ก็จะต้องพัฒนาแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์และสัตว์จำลองซึ่งเฉพาะเจาะจงต่อโควิดที่ไม่เคยมีมาก่อน และสิ่งจำลองเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถทดสอบยืนยันกับลักษณะต่าง ๆ ของไวรัสที่ยังไม่ปรากฏ เป็นสิ่งที่ต้องร่วมกันทำโดยกำลังจัดตั้งในปี 2020[24]ในบรรดาวัคซีนแคนดิเดตที่ยืนยันแล้วว่ากำลังพัฒนา บริษัทเอกชนเป็นผู้พัฒนาในอัตราร้อยละ 70 ที่เหลือนักวิชาการ รัฐบาล และองค์กรสาธารณสุขเป็นผู้พัฒนา[1]

ผู้พัฒนาวัคซีนโดยมากเป็นบริษัทเล็ก ๆ หรือทีมนักวิจัยในมหาวิทยาลัยผู้มีประสบการณ์น้อยในการออกแบบวัคซีนให้ประสบความสำเร็จ มีทุนจำกัดเพื่อทำงานทดลองทางคลินิกที่ซับซ้อนและเพื่อผลิตวัคซีนถ้าไม่ได้บริษัทเภสัชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ข้ามชาติเป็นหุ้นส่วน[1][24]ผู้กำลังพัฒนาวัคซีนรวมองค์กรในสหรัฐและแคนาดาซึ่งทั้งสองรวมกันมีงานวิจัยวัคซีนที่แอ๊กถีฟเป็นอัตราร้อยละ 46 ทั้งหมดของโลก เทียบกับเอเชียที่ร้อยละ 36 รวมทั้งประเทศจีน และกับยุโรปที่ร้อยละ 18[24]

การทดลองระยะ 1 ที่วางแผนในปี 2020

วัคซีนแคนดิเดตที่กำลังออกแบบหรือพัฒนาในระยะพรีคลินิกสำหรับโควิดอาจไม่ได้รับอนุมัติให้ศึกษาในมนุษย์ช่วงปี 2020 เพราะเป็นพิษ ไม่มีประสิทธิผลชักนำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนอง หรือล้มเหลวในด้านต่าง ๆ ในสัตว์ทดลอง หรืออาจไม่มีทุนพอ[237][238]สำหรับโรคติดเชื้อ โอกาสประสบความสำเร็จของวัคซีนแคนดิเดตในการฝ่าอุปสรรคระยะพรีคลินิกแล้วเข้าสู่การทดลองในมนุษย์ระยะที่ 1 อยู่ในอัตราร้อยละ 41-57[237]

ค่าใช้จ่ายของการทดลองเบื้องต้นในมนุษย์ค่อนข้างสูงสำหรับผู้พัฒนาวัคซีน ประเมินอยู่ที่ 14-25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 440-786 ล้านบาท)สำหรับโปรแกรมการทดลองระยะที่ 1 ทั่วไป แต่ก็อาจถึง 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,200 ล้านบาท) ได้เหมือนกัน[237][239]เมื่อเปรียบเทียบกับโรคไวรัสอีโบลาที่ระบาดทั่วระหว่างปี 2013-2016 ซึ่งมีวัคซีนแคนดิเดต 37 ชนิดที่พัฒนาอย่างเร่งด่วน มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ได้รับอนุมัติให้ใช้เป็นวัคซีน โดยมีค่าใช้จ่ายเพื่อยืนยันประสิทธิผลในการทดลองระยะที่ 2-3 ประมาณพันล้านดอลลาร์สหรัฐ (35,292 ล้านบาท)[237]

วัคซีนที่ไม่เฉพาะเจาะจงโรคโควิด

วัคซีนบางชนิดมีผลที่ไม่เฉพาะเจาะจง (non-specific effects)คืออาจมีประโยชน์เกินนอกเหนือจากโรคที่ป้องกัน[240]

แม้อ้างว่า (มี.ค., มิ.ย. และ ก.ค.) อัตราการตายเหตุโควิดจะต่ำกว่าในประเทศที่ฉีดวัคซีนบีซีจีเพื่อป้องกันวัณโรคเป็นปกติ[241][242][243][244]แต่องค์การอนามัยโลกก็กล่าวในเดือนเมษายนว่า ไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนนี้มีผลต้านโควิด[245]ในเดือนมีนาคม 2020 ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้เริ่มการทดลองวัคซีนบีซีจีแบบสุ่มเพื่อลดการติดโรคโควิดโดยรับแพทย์พยาบาล 1,000 คน[246]ออสเตรเลียก็ทดลองแบบสุ่มเช่นกันโดยรับแพทย์พยาบาล 4,170 คน[247][248]

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยยาหลอกเพื่อตรวจว่าวัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ (ป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน) สามารถป้องกันแพทย์พยาบาลจากโรคโควิดจะเริ่มในเดือนพฤษภาคม 2020 ที่เมืองไคโรโดยรับอาสาสมัคร 200 คน[249]

วัคซีนบีซีจี

นักวิจัยได้ศึกษาวัคซีนบีซีจีอันอาจมีผลที่ไม่เฉพาะเจาะจง (non-specific effects) เป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หลังจากสังเกตการณ์ว่าอัตราตายและความรุนแรงของโรคจะน้อยกว่าในประเทศกำลังพัฒนา (ที่มักใช้วัคซีนนี้)แต่องค์การอนามัยโลกก็เตือนว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจมีผลต่อข้อสังเกตเช่นนี้เช่น อัตราการตรวจโรคโควิดและภาระโรค (disease burden)[250]ในการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม วัคซีนนี้พบว่ามีผลไม่เฉพาะเจาะจงเป็นการป้องกันการติดเชื้อทางลมหายใจอื่น ๆ[251]

ปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานพอสนับสนุนข้อสรุปว่า วัคซีนบีซีจีมีประสิทธิภาพป้องกันโควิด[252]ในเดือนตุลาคม มหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ (อังกฤษ) ประกาศการทดลองนานาชาติขนาดใหญ่เพื่อศึกษาว่า การให้วัคซีนบีซีจีสามารถลดอันตรายของโควิดต่อบุคลากรทางแพทย์หรือไม่[253][254]ซึ่งเนเธอร์แลนด์ก็ประกาศเช่นเดียวกันในเดือนพฤษภาคมก่อนหน้านั้น[251]

การใช้ตัวเสริม (adjuvant)

จนถึงเดือนกันยายน 2020 วัคซีนแคนดิเดต 11 อย่างที่อยู่ในระยะการทดลองทางคลินิกใช้ตัวเสริมเพื่อเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน[1]ตัวเสริมหรือ immunological adjuvant เป็นสารที่ออกแบบให้ใช้กับวัคซีนเพื่อเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อแอนติเจน เช่นต่อไวรัสโควิดหรือไข้หวัดใหญ่[255]ตรง ๆ ก็คือ ตัวเสริมอาจใช้กับวัคซีนโควิดเพื่อเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกันและเพิ่มประสิทธิศักย์ในการลดหรือป้องกันการติดเชื้อโควิดในบุคคลที่ได้วัคซีน[255][256]ตัวเสริมอาจมีประสิทธิภาพเป็นพิเศษในเทคโนโลยีที่ใช้ไวรัสโควิดที่ฆ่าแล้ว (inactivated) ในวัคซีนโปรตีนที่ได้จากยีนลูกผสม (recombinant protein) หรือในวัคซีนที่ใช้เว็กเตอร์ (vector)[256]เกลืออะลูมิเนียม (aluminum salt, alum) เป็นตัวเสริมแรกที่ใช้ในวัคซีนซึ่งได้อนุมัติ โดยเลือกใส่ในวัคซีนที่ใช้ตัวเสริมเกินร้อยละ 80[256]เป็นสารที่เริ่มกลไกทางโมเลกุลและเซลล์อย่างหลายหลากเพื่อเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน รวมทั้งการปล่อยไซโตไคน์ที่เสริมการอักเสบ[255][256]

แหล่งที่มา

WikiPedia: วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 http://www.chictr.org.cn/showprojen.aspx?proj=5552... http://www.chictr.org.cn/showprojen.aspx?proj=5665... http://www.cloverbiopharma.com/index.php?m=content... http://www.pmlive.com/pharma_news/gsk,_medicago_la... http://www.walvax.com/wosen/28.aspx //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14667748 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14676007 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15655773 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15885812 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16453264